ประวัติสำนักบริหารการทะเบียน
สำนักงานเดิม
สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักบริหารการทะเบียน เดิมเคยเป็นวังสถานที่ประทับของกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส พระราชโอรสองค์ที่ 46 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาโหมด รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานให้ที่ริมถนนลูกหลวงตอนต่อถนนนครสวรรค์ฝั่งใต้และกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ได้เสด็จประทับที่วังนี้ตลอดพระชนมายุ
ตามหลักฐานรายงานกรรมสิทธิที่ดิน (ท.ด.1) ระวาง 1น-1อ. 10-11 เลขที่ดิน 6 ตำบลดุสิต หน้า 48 อำเภอดุสิต โฉนดหมายเลขที่ 3016 เล่มที่ 31 หน้า 16 จังหวัดพระนคร มีจำนวนที่ดิน 14 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิเดิมสำนักพระราชวัง กรรมสิทธิ์ต่อ
ในปี พ.ศ.2505 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน และได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการในกรมการปกครองใหม่ โดยเพิ่มหน่วยงานขึ้นมารองรับกับพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน หรือกองบัตรประจำตัวประชาชน หรือส่วนบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน เนื่องจากกรมการปกครองมีอาคารไม่เพียงพอจึงขอเสนออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีซื้ออาคารตึกสี่ชั้นของธนาคารมณฑล ตั้งอยู่ที่ถนนนครสวรรค์หน้าสนามม้านางเลิ้งมีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา ราคารวมทั้งที่เป็นเงินทั้งสิ้น 5 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2506 มีมติอนุมัติซื้อที่ดินวังกรมหมื่นไชยาโฉนดที่ดิน 3154 และ 3232 โดยในปีงบประมาณ 2507 ชำระ 3 ล้านบาทส่วนอีก 2 ล้านบาทให้ตั้งงบประมาณในปีถัดไป
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการซื้อตึกสี่ชั้น รวมตลอดทั้งที่ดินบริเวณวังไชยานี้ กรมการปกครองจึงได้ติดต่อขอซื้อที่บริเวณวังไชยา จากธนาคารมณฑล (ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน ในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ที่ ถนนนครสวรรค์ หน้าสนามม้านางเลิ้ง คณะกรรมการบริหารมณฑล จำกัด ได้มีการประชุมครั้งที่ 71/2501 เมื่อวันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2506 ห้องประชุมธนาคารมณฑล จำกัดโดยหลวงอรรถไกวัลวทีเป็นประธานกรรมการ มีมติอนุมัติให้ธนาคารฯ จัดการโอนขายที่ดินโฉนดหมายเลข 3154 และ 3232 ตำบลดุสิต อำเภอดุสิต (นางเลิ้ง) จังหวัดพระนคร (ในขณะนั้น) ให้แก่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เมื่อธนาคารมณฑลตกลงขายให้กับรัฐบาลแล้ว กระทรวงการคลังในฐานะผู้แทนของรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างตามระเบียบกระทรวงการคลังที่ 8782/2485 ลงวันที่ 21 ก.พ. 2485 ข้อ 19 แต่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้การโอนกรรมสิทธิที่ดินเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว จึงมีหนังสือกระทรวงการคลังให้มอบอำนาจให้กรมการปกครองเป็นผู้รับโอนกระทรวงการคลังได้มีหนังสือตอบไม่ขัดข้อง กรมการปกครองจึงได้เป็นผู้รับโอนและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิในที่ดิน แห่งนี้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา กรมการปกครองก็ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งหน่วยราชการต่างๆ ของกรมการปกครอง ณ ขณะนั้น มี 5 กอง 2 งาน กับ 1 หมวดดังนี้
ซึ่งมีอยู่ 3 กองที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย คือกองการทะเบียน กองบัตรประจำตัวประชาชน สำนักงานกลางทะเบียนราษฎร
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2536 ได้จัดตั้ง สำนักบริหารการทะเบียน (สน.บท.) ขึ้น โดยอยู่ในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียน 15 ประเภท ดังต่อไปนี้
การปกครองได้กำหนดแนวทางการบริหารราชการ และจัดโครงสร้างการแบ่งงาน ภายในสำนักบริหารการทะเบียน ตามคำสั่งกรมการปกครองที่ 15/2537 ลว.6 ม.ค. 2537 ข้อ3 กำหนดให้มีผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติราชการและบังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างภายในสำนักบริหารการทะเบียนโดยแบ่งงานออกเป็น 1 ฝ่าย 4 ส่วน และ 1 ศูนย์ ดังนี้
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ.2545 ได้มีผลบังคับใช้ กรมการปกครองมีคำสั่งกรมการปกครองที่ 839/2545 เรื่องการจัดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งงานภายใน ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2545 โดยมีผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติราชการและบังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างภายในสำนักและให้มีการจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 5 ส่วน 9 ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ดังนี้
ปัจจุบัน กรมการปกครองมีคำสั่งกรมการปกครอง ที่ 1752/2562 เรื่อง การจัดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งงานภายใน กรมการปกครอง โดยมีผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติราชการและบังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างภายในสำนัก มีการจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในออกเป็น 1 กลุ่มงาน 9 ส่วน 9 ศูนย์ ดังนี้
สำนักงานใหม่
สำนักบริหารการทะเบียน ได้ย้ายมาอยู่ที่ 59 หมู่ 11 ถ.ลำลูกกาคลอง 9 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2546