การได้สัญชาติไทยตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง
พ.ศ.๒๕๔๓ |
การได้สัญชาติไทย ชาวไทยภูเขาที่จะได้รับการลงรายการสัญชาติไทยโดยการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน
(ท.ร.๑๔)
จะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ คุณสมบัติของผู้ขอ จะต้องเป็นชาวไทยภูเขาที่เป็นชาวเขาดั้งเดิมติดแผ่นดินโดยเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและมีบิดามารดา
ปู่ย่าตายาย เป็นบุคคลดั้งเดิมที่เกิดและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร
ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยทำกินหรือบรรพชนอาศัยทำกินอยู่บนพื้นที่สูง
ประกอบด้วย ๙ กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และมลาบรี การใช้บังคับ ใช้บังคับกับบุคคลบนพื้นที่สูงที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
ในพื้นที่ ๒๐ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก
น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน
ราชบุรี เลย ลำปาง ลำพูน สุโขทัย สุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี หลักฐานประกอบในการยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน ๑.
ทะเบียนประวัติที่ทำตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น
ทะเบียนราษฎรชาวเขา (แบบ ท.ร.ช.ข.๑ ) จัดทำใน
พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๑๓ ทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓) ตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๕ การสำรวจข้อมูลประชากรชาวเขา
จัดทำเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๑ ทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง จัดทำเมื่อ
พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔ ทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง จัดทำเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๒
ทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓) และเอกสารอื่นๆ
ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบรับแจ้งการเกิด ใบรับรองการเกิด สูติบัตร ๒.
ผู้ยื่นคำร้องอาจใช้พยานบุคคลเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันทำให้ได้สัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำเครือข่ายชุมชน กรรมการหมู่บ้าน ชุมชน
เจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการที่อยู่ในพื้นที่
เจ้าหน้าที่ที่ทำการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยชาวเขา
องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในเขตชุมชนบนพื้นที่สูง ๓.
ผู้ยื่นอาจอ้างพยานวัตถุเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันทำให้ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติได้ หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทย ๑.
หลักฐานทะเบียนประวัติที่มีรายการของผู้ขอลงรายการสัญชาติไทย เช่น ทะเบียนชาวเขา
ทะเบียนบุคคลบนพื้นที่สูง ชุมชนบนพื้นที่สูง ทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓)
ฯลฯ ๒.
รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ๓.
พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ฯลฯ ๔.
บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้องและผู้ยื่นแทน ๕.
หลักฐานการเกิด เช่น ใบรับแจ้งการเกิด หนังสือรับรองการเกิด/สูติบัตร ๖.
พยานหลักฐานทางพันธุกรรม (ถ้ามี) ๗. หลักฐานการศึกษา
(ถ้ามี) |
การขอสัญชาติไทยตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง
พ.ศ.๒๕๔๓ |
|